การแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนนานาชาติ IYRC THAILAND 2025

 

การแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนนานาชาติ IYRC THAILAND 2025

วันเสาร์และอาทิตย์ที่ 7 ถึง 8 มิถุนายน 2568

ณ ศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์ กรุงเทพฯ

 

ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ (Robotics) กำลังเข้ามามี บทบาทสำคัญในทุกด้านของชีวิต รวมถึงการศึกษา AI และหุ่นยนต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่เครื่องมือช่วยสอน แต่เป็นตัวเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนรู้ไปอย่างสิ้นเชิง สถาบันการศึกษาที่สามารถบูรณาการเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ จะช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับตลาดแรงงานแห่งอนาคต

AI กับบทบาทในการพัฒนาการศึกษา AI ช่วยให้การศึกษามีความเป็น “การเรียนรู้เฉพาะบุคคล”

(Personalized Learning) มากขึ้น ระบบ AI สามารถวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียนแต่ละคน และปรับหลักสูตรให้เหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถช่วยครูในการตรวจข้อสอบ วิเคราะห์พฤติกรรมนักเรียนและให้ข้อเสนอแนะที่มีประสิทธิภาพได้อีกด้วย

Robotics กับการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 การเรียนรู้โดยใช้หุ่นยนต์ (Robotics Learning) ช่วยให้

นักเรียนฝึกคิดวิเคราะห์ ลงมือปฏิบัติ และทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นทักษะสำคัญของศตวรรษที่ 21 นักเรียนที่มีโอกาส ทดลองเขียนโค้ด ควบคุมหุ่นยนต์ และแก้ปัญหาผ่านกระบวนการทางวิศวกรรม จะมีความสามารถสูงขึ้นในการคิด สร้างสรรค์และการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

อนาคตของห้องเรียนไทยกับ AI & Robotics หากโรงเรียนสามารถนำ AI และหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในการเรียน

การสอนจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สนุก และตอบโจทย์ยุคดิจิทัล อย่างแท้จริง ประเทศไทยต้องก้าว ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อเตรียมเยาวชนของเราให้พร้อมสำหรับอาชีพในอนาคตที่อาจยังไม่เกิดขึ้นในวันนี้

อย่าพลาด! มาร่วมเรียนรู้และเปิดโลกทัศน์ใหม่กับ AI & Robotics เข้าร่วมงานสัมมนา

“AI & ROBOTICS กับการเปลี่ยนแปลงในวงการการศึกษาไทย

ในงานแข่งขันหุ่นยนต์ IYRC THAILAND 2025 ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์

จัดโดย ซีเอ็ด แล้วคุณจะได้เห็นว่า การศึกษาไทยสามารถก้าวกระโดดสู่อนาคตได้อย่างไร!

!!! ดาวน์โหลด เอกสารโครงการ IYRC THAILAND 2025 (ฉบับเต็มคลิกที่นี่)

 

ความเป็นมาของการแข่งขันหุ่นยนต์ IYRC

IYRC ย่อมาจาก International Youth Robot Competition ซึ่งเป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับเยาวชนที่เกิดจากการร่วมมือกันของประเทศสมาชิก ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกด้วยกันกว่า 30 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้, จีน, มาเลเซีย, สิงคโปร์, รัสเซีย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สหรัฐอเมริกา, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, สเปน, อิสราเอล, อินเดีย, อาเซอร์ไบจาน, คูเวตรวมทั้งประเทศไทย ซึ่งกิจกรรมนี้ได้จัดอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน โดยได้รับความสนใจจากเหล่าประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นตามลำดับ หัวใจสำคัญของการแข่งขันในทุกครั้งก็คือการเปิดโอกาสให้เยาวชนทั่วโลกได้มีเวทีการแข่งขันสำหรับความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกันของชาติสมาชิก.

สำหรับ IYRC THAILAND เป็นการแข่งขันที่จัดในประเทศไทย ดำเนินการจัดโดยแผนกขาย/จัดจำหน่าย STEM Education บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน) ซึ่งถือเป็นตัวแทนแต่ผู้เดียวในประเทศไทยในการจัดงาน เพื่อคัดเลือกตัวแทนเยาวชนไทยในระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษา รวมทั้งอาชีวศึกษา เข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ การคัดเลือกจะจัดร่วมกับโรงเรียน วิทยาลัยเทคนิค ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ โดยรอบสุดท้ายจะคัดผู้ชนะเลิศในแต่ละสนามมาแข่งขัน เพื่อหาตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติต่อไป

การจัดงาน IYRC THAILAND ที่ผ่านมา.

 

IYRC Thailand 2024

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยมีเวทีในการแข่งขันทักษะด้านสร้างสรรค์นวัตกรรมและประดิษฐ์หุ่นยนต์ซึ่งจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับเยาวชนไทยในการแข่งขันระดับนานาชาติ
  2. ให้เยาวชนไทยรู้จักสร้างสรรค์นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ใช้งานได้จริงด้วยตนเอง
  3. ให้เยาวชนไทยรู้จักคิดวิเคราะห์ วางแผนและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
  4. ให้เยาวชนไทยเรียนรู้วัฒนธรรมและประสบการณ์ร่วมกันกับเพื่อนเยาวชนชาติสมาชิกในระหว่างการแข่งขัน

.

รายการแข่งขันหุ่นยนต์ IYRC THAILAND สำหรับปี 2025

 

กติกาทั่วไปการแข่งขันหุ่นยนต์ IYRC THAILAND 2025

กฎทั่วไป

  • ผู้จัดงานขอสงวนสิทธิ์ ในการตัดสิทธิ์ผู้เข้าแข่งขันหากพบว่าละเมิดกฎใดๆ
  • คำตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งหรือความเข้าใจไม่ตรงกัน
  • หากมีกฎหรือข้อบังคับเปลี่ยนแปลง ผู้จัดงานจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วันก่อนการแข่งขันเริ่มต้น กรรมการมีอำนาจเต็มที่ในการอธิบายและบังคับใช้กฎในทุกประเภทการแข่งขัน

ผู้เข้าแข่งขัน

  • ผู้เข้าแข่งขันสามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้สูงสุด 2 ประเภท + 1 การออกแบบสร้างสรรค์ (บังคับ)

เกณฑ์การให้คะแนน

  • ผู้เข้าแข่งขันหรือตัวแทนในทีม ต้องลงชื่อยืนยันผลการแข่งขันทันทีหลังจากการแข่งขันสิ้นสุดลง
  • ผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถโต้แย้งผลการแข่งขันที่ลงชื่อยืนยันไว้แล้วได้
  • การจับเวลาการแข่งขันในสนาม จะใช้นาฬิกาจับเวลาของผู้ตัดสินในสนามเป็นมาตราฐานเวลาเท่านั้น

กฎการแข่งขัน

  • ก่อนเริ่มการแข่งขัน หุ่นยนต์ทั้งหมดจะต้องผ่านการตรวจสอบจากคณะผู้ตัดสิน ให้เป็นไปข้อกำหนด หรือข้อจำกัดด้านการออกแบบในการแข่งขันนั้นๆ
  • หากหุ่นยนต์ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดหรือข้อจำกัดด้านการออกแบบ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแก้ไข และนำกลับมาให้คณะกรรมมการตรวจสอบอีกครั้ง ภายในเวลาไม่เกิน 15 นาที หากไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน
  • หากหุ่นยนต์พบปัญหาทางเทคนิคใดๆ ก็ตาม ก่อนเริ่มการแข่งขัน ผู้ตัดสินจะให้เวลาไม่เกิน 5 นาทีใน การแก้ไขหุ่นยนต์ หากไม่สามารถแก้ไขได้จะถูกตัดสิทธิ์การแข่งขัน
  • กรรมการสามารถกำหนดสนามฝึกซ้อมและจำกัดเวลาฝึกซ้อมต่อผู้เข้าแข่งขันหรือทีมผู้เข้าแข่งขัน เพื่อให้แน่ใจว่ามีเวลาฝึกซ้อมที่เท่าเทียมกันและยุติธรรม
  • ผู้จัดงานจะจัดเตรียม รีโมทคอนโทรล RF สำหรับประเภทที่ต้องใช้หุ่นยนต์ควบคุมระยะไกล ในกรณีนี้ หุ่นยนต์จะต้องตั้งค่าเป็นช่อง 1 หรือตั้งโปรแกรมเป็นช่อง 1 (เมนบอร์ด MRTX) เพื่อให้ทำงานได้
  • ห้ามทำชิ้นส่วนหุ่นยนต์ทั้งหมดหล่นในขณะที่การแข่งขันดำเนินอยู่ กรรมการอาจดำเนินการที่จำเป็น กับทีมที่ทำชิ้นส่วนหุ่นยนต์หล่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการแข่งขันที่กำลังดำเนินอยู่
  • ผู้เข้าแข่งขันจะไม่ได้รับอนุญาตให้สัมผัสหุ่นยนต์และ/หรือรีโมตคอนโทรลระหว่างการแข่งขัน เว้นแต่จะได้รับคำสั่งจากผู้ตัดสิน
  • ในการแข่งขันไม่อนุญาตให้ยืมหุ่นยนต์กันใช้ระหว่างผู้เข้าแข่งขัน

ข้อจำกัดในการออกแบบหุ่นยนต์

  • อนุญาตให้ใช้เฉพาะชุดหุ่นยนต์เพื่อการศึกษา MRT Series, iKids Level 4-6 และ HUNA เท่านั้น (อนุญาตให้ใช้ชิ้นส่วนชุดหุ่นยนต์เพื่อการศึกษา MRT Series, iKids Level 4-6 และ HUNA ร่วมกันได้)
  • ไม่มีการจำกัดจำนวนบล็อกที่ใช้สร้างหุ่นยนต์ตราบใดที่อยู่ในข้อจำกัดด้านขนาดและน้ำหนัก
  • ห้ามใช้ชุดของเล่น My Robot Time และ MRT Soccer Robot โดยเด็ดขาด
  • ห้ามดัดแปลงชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในทุกกรณี หากพบว่ามีความผิด ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์ทันที
  • ห้ามดัดแปลงชิ้นส่วน (ห้ามดัด ลับคม หรือเปลี่ยนรูปร่างชิ้นส่วน) ชิ้นส่วนทั้งหมดต้องอยู่ในสภาพเดิม

คุณสมบัติหุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน

  • หุ่นยนต์ต้องใช้แหล่งจ่ายไฟไม่เกินกว่า 9VDC (ไฟฟ้ากระแสตรงเท่านั้น) ห้ามใช้แหล่งจ่ายไฟ VAC (ไฟฟ้ากระแสสลับ) โดยเด็ดขาดด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย
  • ในกรณีหากเซนเซอร์ต่างๆ ของหุ่นยนต์ถูกรบกวนจากภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมผู้เข้าแข่งขันจะต้อง หาวิธีการปกป้องหรือป้องกันจากการรบกวนนั้นๆ ด้วยตัวของหุ่นยนต์เอง
  • ในกรณีหากตัวรับ RC ของหุ่นยนต์ถูกรบกวนจากภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมผู้เข้าแข่งขันจะต้องหา วิธีการปกป้องหรือป้องกันจากการรบกวนนั้นๆ ด้วยตัวของหุ่นยนต์เอง

สนามแข่งขัน

  • หุ่นยนต์จะต้องไม่ทำลายส่วนใดๆ ของสนามหรือสิ่งกีดขวางโดยเจตนา
  • หุ่นยนต์จะต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสนามแข่งขันและบริเวณโดยรอบไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม

การฟาวล์ (2 ฟาวล์ = ตัดสิทธิ์)

  • หากผู้เข้าแข่งขันไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ตัดสิน/ก่อกวนคำสั่ง ผู้ตัดสินจะถือเป็นการฟาวล์
  • หากผู้เข้าแข่งขันทำการสื่อสารกับผู้อื่น ผู้ชม ผู้ควบคุมทีม หรือผู้เข้าแข่งขันคนอื่นในระหว่างการแข่งขัน อาจส่งผลให้เกิดการรบกวน และการได้เปรียบผู้เข้าแข่งขันท่านอื่น ผู้ตัดสินจะถือเป็นการฟาวล์

การตัดสิทธิ์การแข่งขันทันที

  • ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์หากหุ่นยนต์ไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดด้านขนาด/น้ำหนักของเกมส์ที่เข้าร่วมได้
  • ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์หากใช้ชิ้นส่วนที่ไม่ได้รับอนุญาตก่อนการแข่งขัน
  • ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์หากมีปัญหาทางเทคนิค เช่น หุ่นยนต์ควบคุมไม่ได้ ผู้ตัดสินจะหยุดการแข่งขันชั่วคราว และช่วยให้ผู้เข้าแข่งขันปิดและเปิดหุ่นยนต์เท่านั้น หากหุ่นยนต์ยังไม่สามารถทำงาน ได้หลังจากเปิดหุ่นยนต์อีกครั้ง ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์
  • ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์เมื่อหุ่นยนต์ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เกิน 10 วินาที เนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค (เนื่องจากชิ้นส่วนหลุดออก ติดขัด การออกแบบบกพร่อง ฯลฯ)
  • ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์หากพกพาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น เครื่องเล่น MP3, PMP, หน่วยความจำ USB ขณะทำการแข่งขัน
  • ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์หากสัมผัสหรือทำให้หุ่นยนต์ แล็ปท็อปหรือสิ่งของ ของผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเสียหาย
  • ผู้เข้าแข่งขันจะถูกตัดสิทธิ์หากสัมผัสหุ่นยนต์หรือสนามแข่งขันและสิ่งของภายในระหว่างการแข่งขัน (ยกเว้นโบว์ลิ่ง)

การควบคุมหุ่นยนต์ด้วยรีโมตบังคับ

  • ผู้เข้าแข่งขันที่ควบคุมหุ่นยนต์ด้วยรีโมตจะต้องรักษาระยะห่างจากพื้นที่สนามแข่งขันโดยไม่สัมผัสหรือรบกวนเกมส์การแข่งขัน
  • หากเกี่ยวข้องกับการตั้งค่าช่องสัญญาณรีโมตในโปรแกรม ให้ตั้งโปรแกรมเป็นช่อง 1 (ค่าเริ่มต้น) เนื่องจากจะใช้รีโมตคอนโทรล RF ในการแข่งขัน

กฎอื่นๆ

  • ในขณะที่การแข่งขันดำเนินอยู่ ห้ามผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการแข่งขันในรายการนั้นๆ ใช้รีโมต เพื่อป้องการรบกวนหุ่นยนต์ผู้กำลังแข่งขันอยู่
  • เมื่อหุ่นยนต์ถูกนำออกจากสนามแข่งขันแล้ว หุ่นยนต์จะกลับเข้าสู่การแข่งขันได้อีกครั้ง เมื่อได้รับอนุมัติจากกรรมการเท่านั้น
  • ไม่สามารถประกอบชิ้นส่วนที่หลุดหรือแตกหักจากหุ่นยนต์กลับเข้าที่หุ่นยนต์ระหว่างการแข่งขันได้
  • การตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดและจะไม่สามารถโต้แย้งใดๆ ได้ทั้งสิ้น

กฎการแข่งขันแบบทีม (TEAM Tournament rules)

  • การแข่งขันทั้งหมดจะใช้ระบบน็อคเอาท์ (แพ้คัดออก)
  • ผู้เข้าแข่งขันต้องส่งหุ่นยนต์ของตนเข้ารับการตรวจสอบในเช้าของวันแข่งขันก่อน 09.00 น.
  • หลังจากส่งหุ่นยนต์ผู้เข้าแข่งขันเข้ารับการตรวจสอบและผ่านกฎกติกาที่กำหนดแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะสัมผัสหุ่นยนต์ของตนไม่ได้จนกว่าการแข่งขันจะเริ่มต้นขึ้น โดยได้รับการอนุมัติจากกรรมการ ผู้เข้าแข่งขันที่สัมผัสหุ่นยนต์ของตนเองหรือของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากกรรมการ จะถูกตัดสิทธิ์ทันที
  • คณะกรรมการ IYRC จะเป็นผู้ทำการสุ่มจัดคู่การแข่งขัน
  • จำนวนของผู้ร่วมแข่งขันต่อทีม จะถูกกำหนดโดยประเภทของการแข่งขันนั้นๆ
  • ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนต้องควบคุมหุ่นยนต์ของตนเองเท่านั้น
  • ทีมที่ชนะเท่านั้นที่จะผ่านเข้าสู่รอบต่อไปของการแข่งขัน

การขอชี้แจงและคัดค้านคำตัดสิน

  • การตัดสินของกรรมการในสนามถือเป็นที่สิ้นสุดในระหว่างเกมส์การแข่งขัน และจะไม่รับพิจารณาคำคัดค้านต่อการตัดสินของกรรมการสนาม
  • ผู้ควบคุมทีมจะไม่สามารถคัดค้านคำตัดสินการแข่งขันได้
  • ไม่รับการพิจารณาหลักฐานวิดีโอ
  • เมื่อผู้ตัดสินหลักและผู้ตัดสินในสนามได้ตัดสินใจแล้ว จะไม่มีการหารือใดๆ เพิ่มเติม

!!! ดาวน์โหลด กติกาการแข่งขัน IYRC THAILAND 2025 (ฉบับเต็มคลิกที่นี่)

 

รางวัลสำหรับการแข่งขันทุกรายการ

รางวัลชนะเลิศ

  1. ถ้วยรางวัลรางวัลชนะเลิศ IYRC THAILAND 2025
  2. รางวัลชนะเลิศเหรียญทอง IYRC THAILAND 2025
  3. เกียรติบัตร IYRC THAILAND 2025
  4. สิทธิในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนนานาชาติ International Youth Robot Competition (IYRC 2025) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 8 สิงหาคม 2568 ณ เมืองชอนอัน จังหวัดชุงชองใต้ ประเทศสาธารณะรัฐเกาหลี (ของรางวัลไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้)

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1

  1. รางวัลเหรียญเงิน IYRC THAILAND 2025
  2. เกียรติบัตร IYRC THAILAND 2025
  3. สิทธิในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนนานาชาติ International Youth Robot Competition (IYRC 2025)

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2

  1. รางวัลเหรียญทองแดง IYRC THAILAND 2025
  2. เกียรติบัตร IYRC THAILAND 2025
  3. สิทธิในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนนานาชาติ International Youth Robot Competition (IYRC 2025)

รางวัล Excellent อันดับ 1 ถึง 5

  1. เกียรติบัตร IYRC THAILAND 2025
  2. สิทธิในการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนนานาชาติ International Youth Robot Competition (IYRC 2025)
(ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกท่านที่ลงทะเบียน จะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมการแข่งขัน IYRC THAILAND 2025)

 

!!! สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน IYRC THAILAND 2025 (คลิกที่นี่)

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ฝ่ายประสานงานการแข่งขัน IYRC THAILAND 2025

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260

โทรศัพท์ 0 2826 8263 หรือ 086 971 8900 (ครูเม)