ชุดทดลองมือหุ่นยนต์ uHandbit ควบคุมด้วยบอร์ดไมโครบิต

 

ชุดทดลองมือหุ่นยนต์ Hiwonder uHandbit สามารถเขียนโปรแกรมได้โดยใช้บอร์ดควบคุมไมโครบิต (Micro : bit) และควบคุมตัวมือหุ่นยนต์ได้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (PC), ตัวบอร์ดควบคุมไมโครบิตและการใช้แอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ โดยการเขียนโปรแกรมควบคุมจะเขียนได้ทั้งในรูปแบบโปรแกรมกราฟิกและการเขียนโปรแกรมแบบตัวหนังสือ (Text Mode) ด้วยภาษาไพธอน (Python) และภาษาจาวาสคริปต์ (Javascript) นอกจากนี้ตัวมือหุ่นยนต์สามารถเชื่อมต่อกับโมดูลเซนเซอร์สำหรับเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานในรูปแบบต่างๆ ตัวอย่างเช่น การวัดระยะทาง, การจดจำสี, การนับนิ้ว เป็นต้น

คุณสมบัติของชุดทดลองมือหุ่นยนต์

  • การควบคุมระบบชุดทดลองมือหุ่นยนต์จะใช้ uHandbit : Micro:bit ร่วมกับ Micro:bit expansion board.
  • ชุดทดลองมือหุ่นยนต์ uHandbit จะใช้บอร์ด Micro:bit เป็นหลักรองรับการเขียนโปรแกรมแบบกราฟิก
  • มาพร้อมกับโมดูลเซนเซอร์หลายรูปแบบเพื่อเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานชุดทดลอง เช่น การวัดระยะทาง การจดจำสี การนับนิ้ว และอื่นๆ
  • ใช้เซอร์โวมอเตอร์ทั่วไปและไม่ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะในการควบคุมการทำงาน
  • รองรับการควบคุมด้วยแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วยภาษาไพธอนและภาษาจาวาสคริปต์

แสดงโครงสร้างสำหรับชุดทดลองมือหุ่นยนต์

โครงสร้างสำหรับชุดทดลองมือหุ่นยนต์

  1. บอร์ดควบคุม Microbit
  2. บอร์ดขยายการทำงานให้กับบอร์ดควบคุม Microbit
  3. ฐานรับด้วยแผ่นอะคิลิกชุดทดลองมือหุ่นยนต์
  4. โมดูลวัดระยะทางด้วยอัลตร้าโซนิก
  5. โมดูลเซนเซอร์สี
  6. ดิจิตอลเซอร์โวมอเตอร์รุ่น 1501
  7. เซอร์โวมอเตอร์แบบพัลซวิดมอดูเลชั่น

การเขียนโปรแกรมสำหรับพัฒนาชุดทดลองมือหุ่นยนต์

การเขียนโปรแกรมควบคุมการทำงานของชุดทดลองมือหุ่นยนต์สามารถเขียนได้ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยแบบออนไลน์เข้าไปที่เว็บไซต์ https://makecode.microbit.org/#editor จากนั้นจะมีแถบเมนูให้เลือกรูปแบบการเขียนตรงกลาง หรือจะมาที่หน้า https://microbit.org/code/ ได้เช่นกัน ทั้งนี้ผู้พัฒนาสามารถเลือกการเขียนโปรแกรมได้ทั้งแบบกราฟิกหรือด้วยภาษาไพธอนและภาษาจาวาสคริปต์

ลักษณะการเขียนโปรแกรมสำหรับพัฒนาชุดทดลองมือหุ่นยนต์

การเขียนโปรแกรมสำหรับพัฒนาชุดทดลองมือหุ่นยนต์

ชุดทดลองมือหุ่นยนต์ Hiwonder uHandbit สามารถควบคุมการทำงานผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และแอนดรอยด์ ตัวแอพพลิเคชั่นจะใช้การเชื่อมต่อระหว่างชุดทดลองมือหุ่นยนต์กับโทรศัพท์มือถือผ่านบลูธูท ตัวแอพพลิเคชั่นสามารถใช้งานได้ง่ายด้วยการสร้างจุดควบคุมให้คล้ายกับมือหุ่นยนต์ รวมทั้งมีฟังก์ชั่นการใช้งานอิ่นๆ เพิ่มเติมอีกหลายรูปแบบในการควบคุมมือหุ่นยนต์

ลักษณะของการเขียนโปรแกรมสำหรับพัฒนาชุดทดลองมือหุ่นยนต์

บอร์ดขยายการทำงานให้กับ micro:bit Expansion Board

ในชุดทดลองมือหุ่นยนต์นี้จะมีส่วนของตัวบอร์ดขยายการใช้งาน Micro:bit Expansion Board ซึ่งจะใช้งานร่วมกับบอร์ดควบคุม Micro bit เพื่อให้สามารถใช้งานขาของ Micro:bit เพิ่มเติม รวมทั้งรับแหล่งจ่ายไฟและเซนเซอร์ต่างๆ ได้ ผู้ใช้สามารถนำบอร์ดควบคุม Micro bit ไปใช้กับโครงงานที่ต่างๆ ได้เร็วขึ้น และในตัวบอร์ดขยาย Micro:bit มีแอลอีดี RGB แสดงผล, พอร์ตเซนเซอร์อัลตราโซนิก, พอร์ตเชื่อมต่อมอเตอร์, บัซเซอร์, พอร์ตสำหรับตัวเซนเซอร์สี, พอร์ตจ่ายไฟออก, พอร์ตเซนเซอร์เสียง, พอร์ตเซอร์โวมอเตอร์ได้ถึง 8 ช่อง เป็นต้น

แสดงบอร์ดขยายการทำงานให้กับ micro:bit Expansion Board

อุปกรณ์ใช้งานร่วมกับชุดทดลองมือหุ่นยนต์หลายรูปแบบ

ชุดทดลองมือหุ่นยนต์สามารถเรียนรู้อุปกรณ์เซนเซอร์และเอาต์พุตต่างๆ ทีมาพร้อมในชุดทดลอง รวมทั้งการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เพิ่มเติมอีกหลายรูปแบบซึ่งช่วยให้เข้าใจและใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นเพิ่มขึ้น ตัวอย่างของอุปกรณ์เซนเซอร์ เช่น โมดูลอัลตร้าโซนิก, โมดูลรับสัญญาณอินฟราเรด, โมดูลตรวจจับเส้นทึบสีดำ, โมดูลสวิตแบบลูกบิดและเซนเซอร์อุณหภูมิ สำหรับในส่วนของอุปกรณ์เอาต์พุตอย่าง เช่น พัดลมมอเตอร์กระแสตรง, จอแอลซีดีแสดตัวอักษร, แอลอีดี RGB แสดงผล เป็นต้น

แสดงกลุ่มของอุปกรณ์ต่างๆ ใช้งานร่วมกับชุดทดลองมือหุ่นยนต์

คู่มือการใช้งานชุดทดลองมือหุ่นยนต์เบื้องต้น

สำหรับชุดทดลองมือหุ่นยนต์จะมีคู่มือการใช้งานต่างๆ เพื่อแนะนำการใช้งานได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง โดยสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ https://www.hiwonder.com/store/learn/30.html นอกจากนี้ยังมี บทเรียนการทดลองเพื่อใช้มือหุ่นยนต์ สำหรับเป็นไอเดียให้เห็นการใช้งานและการประยุกต์ในเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจการทำงานของมือหุ่นยนต์ได้เร็วยิ่ง

https://drive.google.com/drive/folders/1yzmcTXSesi08zIu9PEY2NkUwoohvjOte

ชุดทดลองมือหุ่นยนต์นี้เหมาะสำหรับผู้เรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย, มัธยมศึกษาและระดับอาชีวศึกษา ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น อุปกรณ์เซนเซอร์ต่างๆ สำหรับบอร์ดควบคุมและกลไกการทำงานของตัวมือหุ่นยนต์ รวมทั้งสามารถนำความรู้เพื่อไปประยุกต์เพื่อสร้างชิ้นงานหรือโครงงานต่างๆ ได้ง่าย รวมทั้งเป็นพื้นฐานความรู้ที่จะศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 1858/87-90 ถนนเทพรัตน แขวงบางนาใต้
เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
โทรศัพท์ 0 2826 8154 อีเมล์ stem@se-ed.com