ชุดทดลอง iKids Robot MRT Smart Coding Board

 

ปรับปรุงและเรียบเรียง : ณัฐพนธ์ จงฤกษ์มงคล

ชุดทดลอง Smart Coding Board เป็นชุดทดลองสำหรับการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ทั้งนี้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้ง 2 ส่วนคือ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น (Software) และส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการต่อร่วมสำหรับทดลองโปรแกรม (Hardware) โดยชุดทดลองนี้รองรับการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมได้กว้างตั้งแต่ระดับเริ่มต้น (ระดับประถม) จนถึงระดับปานกลาง (มัธยมปลาย) หรืออาชีวศึกษา โดยจุดเด่นหลักของชุดทดลองสามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณ์อินพุตและเอาต์พุตได้หลายรูปแบบซึ่งออกแบบมาเป็นลักษณะบล็อกสี่เหลี่ยมช่วยให้ทดลองและเรียนรู้ได้ง่าย รวมทั้งรูปแบบการทดลองเขียนโปรแกรมจะมีเอกสารประกอบการเรียนรู้ควบคู่เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และความเข้าใจได้อย่างมีขั้นตอน ทั้งนี้ในชุดจะมาพร้อมกล่องจัดเก็บให้เรียบร้อยและมีอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่า 20 อย่าง รวมทั้งโปรแกรมการติดตั้งสำหรับพัฒนาและคู่มือการใช้งานต่างๆ ครบถ้วน

อุปกรณ์ประกอบชุดทดลอง MRT Smart Coding Board

ชุดทดลอง MRT Smart Coding Board มาพร้อมกับซีดีบรรจุโปรแกรมใช้งานและคู่มือการเรียนรู้ในชุด โดยจะมีรายละเอียดความรู้เรื่องของเซนเซอร์แต่ละตัวประกอบด้วย เช่น หลอดแสดงผลแอลอีดี (สีแดง, เขียว, ขาว เหลืองและน้ำเงิน), บัซเซอร์ส่งสัญญาณเสียง, เซนเซอร์ตรวจับการเอียง, เซนเซอร์สัมผัสสวิตช์, เซนเซอร์แสงสว่างของแสง, เซนเซอร์วัดค่าอุณหภูมิแบบ NTCT, เทอร์โมมิเตอร์เซนเซอร์อุณหภูมิ (LM35), ตัวต้านทานปรับค่าได้, เซนเซอร์น้ำฝน, เซนเซอร์อินฟราเรดตรวจจับวัตถุ, มอเตอร์เซอร์โวควบคุมการหมุน, เซนเซอร์อัลตราโซนิกวัดระยะทาง เป็นต้น.

การเขียนโปรแกรมทดลองสำหรับ MRT Smart Coding Board

การเขียนโปรแกรมสำหรับการทดลอง MRT Smart Coding Board และการเรียนรู้สามารถเลือกได้ 2 รูปแบบคือโปรแกรมสแครช (Scratch) ในลักษณะของการลาก-วางบล็อก และแบบภาษาซี (C++) ในรูปแบบของ Arduino IDE ซึ่งช่วยให้ชุดการเรียนรู้ MRT Smart Coding Board สามารถเป็นในการเรียนรู้ได้หลายระดับตั้งแต่ประถมถึงมัธยมศึกษาตอนปลายรวมทั้งอาซีวศึกษา ทั้งนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ได้หลายรูปแบบ.

จากรูปข้างบนจะแสดงลักษณะของการเขียนโปรแกรมสแครช (Scratch) ในกรอบสีเขียว ซึ่งผู้เขียนโปรแกรมสามารถนำคำสั่งจากบล็อกทางด้านซ้ายมือลากและวางทางด้านขวาในพื้นที่เขียนโปรแกรมก็สามารถพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ตามที่ต้องการได้แล้ว

ในส่วนของการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี จะแสดงในรูปข้างบนกรอบสีแดง ซึ่งผู้เรียนสามารถเปลี่ยนไปเป็นหน้าต่างนี้ได้ โดยการคลิกขวาที่บล็อกแรกของโปรแกรมคำสั่ง จากนั้นจะมีข้อความแสดง “upload to arduino”  และให้เราคลิกเลื้อกก็สามารถพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาซีได้ตามต้องการ

คุณสมบัติของชุดทดลอง MRT Smart Coding Board

  1. สำหรับอายุ 8 ปีขึ้นไป
  2. โมดูลอุปกรณ์ 17 ตัว สำหรับการทดลองบนบอร์ดทั้งในส่วนอินพุตและเอาต์พุตควบคู่การเขียนโปรแกรม
  3. จุดต่อไฟ (Vin, 5V, 3.3V,GND)
  4. พอร์ตดิจิตอลอินพุตและเอาต์พุต (0~13)
  5. พอร์ตอะนาลอกอินพุต (A0~A5)
  6. พอร์ตพิเศษสำหรับอุปกรณ์บลูทูธ อัลตราโซนิก OLED และ LCD
  7. พอร์ตยูเอสบีสำหรับเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
  8. ใช้ไฟเลี้ยงจากพอร์ตยูเอสบี หรืออะแดปเตอร์ดีซี 9V/1A ภายนอก
  9. ขนาดกล่องมาตรฐาน 36*26*9 ซม. (กว้าง*ยาว*สูง) น้ำหนัก 1.2 กก.

การทดลองเรียนรู้สำหรับ MRT Smart Coding Board

ชุดทดลอง MRT Smart Coding Board มีใบงานการทดลองให้ผู้เรียนสามารถศึกษาและทดลองใช้งานได้ตัวเอง หรือผ่านผู้สอน โดยวิธีการนำเสนอการทดลองผ่านเรื่องราวบทเรียนที่น่าสนใจอย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถลำดับความเข้าใจเกี่ยวกับสาระการนำเสนอในแต่ละการทดลอง รวมทั้งเป็นการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การใช้งานโมดูลต่างๆเป็นเรื่องราว ตัวอย่างเช่น เรื่องของปลาดาว (หลอดแสดงผลแอลอีดี), กริ่งประตู (บัซเซอร์), นักแสดงบัลเลต์ (เซนเซอร์การเอียง), การควบคุมผีเสื้อ (เซนเซอร์สัมผัส), ไฟส่องถนน (เซนเซอร์แสงสว่าง), การวัดค่าอุณหภูมิ (เซนเซอร์ NTCT) และอารักขาเจ้าหญิงและเครื่องเตือนระยะห่าง (เซนเซอร์อัลตราโซนิก) เป็นต้น

ลำดับการทดลองที่ 1 จะเป็นการศึกษาและตีความหมายของโจทย์ ทำความเข้าใจคำสั่งการใช้งานของโปรแกรม การเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติเบื้องต้นของอุปกรณ์ที่นำมาต่อใช้งาน สำหรับนำมาใช้งานเพื่อให้เข้าการสร้างโครงงานต่างๆ ตามโจทย์ที่กำหนด

ในขั้นตอนการทดลองที่ 2 การศึกษาบล็อกคำสั่งต่างๆ ที่จะนำมาพัฒนาโปรแกรมถึงการทำงานของแต่ละบล็อกคำสั่ง การจัดลำดับการทำงานของโปรแกรม เพื่อให้การทำงานของโปรแกรมเป็นไปตามลำดับแนวความคิดที่ผู้ทดลองได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้ทดลองสามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังได้ตามต้องการเพื่อให้โครงงานทำงานได้ถูกต้องและสำเร็จ

ในลำดับการทดลองสุดท้ายที่ 3 จะเป็นการต่ออุปกรณ์ต่างๆ จากแนวความคิดข้างต้นเพื่อให้เป็นผลจากการทดลอง โดยในส่วนนี้ผู้ทดลองจะนำอุปกรณ์เซนเซอร์ทางด้านอินพุตและอุปกรณ์เอาต์พุตต่างๆ มาประกอบบนบอร์ด พร้อมทั้งโปรแกรมคำสั่งที่เขียนไว้ดาวน์โหลดมายังตัวบอร์ดแล้วสังสังเกตลผลที่ได้

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ MRT Smart Coding Board

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องสำหรับชุดทดลอง MRT Smart Coding Board นั้น ส่วนหนึ่งจะมาพร้อมในชุดเรียบร้อยแล้ว ทั้งตัวโปแกรมติตตั้งบนคอนพิวเตอร์และคู่มือการใช้งานและเอกสารสำหรับการทดลองสำหรับเรียนรู้ต่างๆ และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องเพื่ออัพเดตข้อมูลของชุดทดลอง MRT Smart Coding Board เพิ่มเติม โดยท่านสามารถเข้าไปได้ตามลิ้งก์นี้ www.myrobottime.com 

.

ส่วนประกอบ : เมนบอร์ดควบคุมการทำงาน อุปกรณ์เซนเซอร์อินพุตเอาต์พุต ซีดีซอฟต์แวร์ และคู่มือการเรียนรู้

รหัสสินค้า : 5225890002216

ราคา : 7,500 บาท